Google Display Network คืออะไร ?
Google Display Network หรือ Google Content Network หรือ Google Placement คือ การลงโฆษณาในรูปแบบของ Pay Per Click หรือการเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีการคลิก ซึ่งอาจจะดูคล้ายกับ Google Adwords เพียงแต่ต่างกันตรงที่ตำแหน่งในการแสดงผล ถ้าเป็นของ Google Placement จะปรากฎโฆษณาบนเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรกับทาง Google โดยสามารถแสดงผลการโฆษณาทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามการรองรับของเว็บไซต์นั้น ๆ ในขณะที่ทาง Google Adwords จะปรากฎผลการโฆษณาบน www.google.com เพียงเว็บไซต์เดียว
ประโยชน์ในการลงโฆษณา Google Display Network
สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ โดยวิธีการสร้างแบรนด์ด้วยกูเกิล เครื่องมือยอดฮิตที่จะทำให้การสร้างแบรนด์ของคุณเป็นไปแบบประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นที่จดจำ และทั่วถึง หากมีการลงโฆษณาเฉพาะในส่วนที่เป็นการค้นหา (Search) เพียงเท่านั้น จะไม่สามารถสร้าง brand ให้ลูกค้ารู้จักได้ดีเท่ากับการลงโฆษณาในลักษณะ Content Network ซึ่งการลงโฆษณาในลักษณะของ Content Network ทำให้ครอบคลุมวงจรการซื้อได้มากกว่า
แต่ปัจจุบัน เราสามารถนำโฆษณาของเราไปติดในเว็บไซต์ต่างๆ ได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบ Cost Per Impression (CPM) หรือ Cost Per Click (CPC) ก็ได้ ซึ่งเป็นราคาที่เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเราเอง ความสามารถนี้เราเรียกว่าการทำ Google Content Network หรือ Google Display Network หรือ Google Placement ซึ่งเป็น function ตัวหนึ่งซึ่งอยู่ภายในวิธีการลงโฆษณาของ Google AdWords โดยเราสามารถเลือกได้ว่า จะเปิดใช้งาน function ของ Google Content Network นี้หรือไม่? ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่า เราจะนำโฆษณาของเราไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องแบบใดบ้าง
ตัวอย่าง
Google Content Network หรือ Google Display Network หรือ Google Placement
ภาพที่ 1 เว็บไซต์ : www.beauty.spokedark.tv ภาพที่ 2 เว็บไซต์ : www.teenee.com
รูปแบบในการปรากฎโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1.โฆษณาแบบ Text โฆษณาแบบข้อความ เนื่องจากเว็บไซต์พันธมิตรบางเว็บไซต์รองรับเฉพาะ Text Ads ซึ่งสามารถเลือกให้ลงโฆษณาแบบ Text ได้ ดังภาพตัวอย่าง โดยสามารถใส่ข้อความได้ 3 บรรทัด ดังนี้
1. Headline หรือ พาดหัว: สามารถใส่ข้อความได้ 25 อักขระ [รวมการเว้นวรรค]
2. บรรทัดคำอธิบาย 1 : สามารถใส่ข้อความได้บรรทัดละ 35 อักขระ [รวมการเว้นวรรค]
3. บรรทัดคำอธิบาย 2 : สามารถใส่ข้อความได้บรรทัดละ 35 อักขระ [รวมการเว้นวรรค]
2. โฆษณาแบบรูปภาพ โฆษณาแบบรูปภาพนี้ จะขึ้นอยู่กับว่า เว็บไซต์พันธมิตรนั้นๆ สามารถรองรับไฟล์ขนาดใดได้บ้าง เราจึงต้องเตรียมไฟล์รูปภาพที่ปรับขนาดและรูปแบบอย่างเหมาะสม ข้อกำหนดด้านขนาดและรูปแบบขึ้นอยู่กับเว็บไซต์ที่เราต้องการให้แสดงโฆษณา ยกตัวอย่างขนาดที่ทาง Google รองรับ
รูปแบบไฟล์ที่ยอมรับ: .GIF, .JPG, .JPEG, .PNG, .SWF
ขีดจำกัดขนาดไฟล์: ไม่เกิน 150 KB ทุกไฟล์
ขนาดโฆษณาที่รองรับ: 300 x 600 250 x 250 120 x 600 160 x 600 เป็นต้น
ภาพที่ 4 ตัวอย่างโฆษณาแบบรูปภาพขนาด 300x600 บนเว็บไซต์ www.teenee.com
การเลือกเว็บไซต์พันธมิตรของ Google ในการขึ้นโฆษณาให้เหมาะกับธุรกิจของเรา
1. กำหนดเป้าหมายตามบริบท : เสาะหาตำแหน่งที่ดีที่สุดบนเครือข่ายดิสเพลย์ของ Google ที่จะแสดงโฆษณาของคุณ ซึ่งสามารถช่วยแสดงโฆษณาของคุณต่อผู้ชมที่สนใจธุรกิจของคุณ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะเพิ่มยอดคลิกและยอดขายของคุณได้
2. เลือกไซต์หรือหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจง : แสดงสารบนเว็บไซต์ที่คุณคิดว่าตรงที่สุดกับธุรกิจของคุณโดยใช้การกำหนดเป้าหมายจากตำแหน่ง เมื่อคุณเพิ่มตำแหน่งที่จัดการแล้ว คุณจะแสดงโฆษณาบนหน้าเว็บ, วิดีโอออนไลน์, เกม, ฟีด RSS ตลอดจนไซต์และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่คุณเลือกได้ หรือแม้แต่จะบล็อกโฆษณาจากไซต์ที่คุณไม่คิดว่าเกี่ยวข้องก็ย่อมได้
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรของ Google
แยกเว็บไซต์ตามหมวดหมู่เพื่อเจาะจงกลุ่มเป้าหมายในการลงโฆษณาของธุรกิจเราให้แคบลง เพื่อให้ลูกค้าที่สนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราเห็นและจดจำแบรนด์สินค้าของเราได้ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ได้ดังนี้
หมวดหมู่ Community
หมวดหมู่ข่าว
หมวดหมู่กีฬา
หมวดหมู่ท่องเที่ยว
หมวดหมู่รถยนต์
หมวดหมู่ผู้หญิง
หมวดหมู่สุขภาพ