ในปี 2024 การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใน Search Engine นั้นร้อนแรงยิ่งกว่าที่เคย แม้ว่า Google ยังคงครองตำแหน่งผู้นำในตลาด แต่คู่แข่งอย่าง Bing และ Perplexity ก็เริ่มท้าทายด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพราะ Google ยังคงติดกับ รายได้ที่มาจาก Google Ads ถ้าเปลี่ยนไปเป็น การตอบคำถามแบบ Chat ในทันทีนั้น อาจทำให้ Google สูญเสียรายได้จำนวนมหาศาล การปรับเปลี่ยน จึงต้องทำอย่างละเอียด รอบคอบ และค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด
ในขณะที่ Bing คู่แข่งรายสำคัญของ Google ตอนนี้ ได้ ผนวก ChatGPT เข้ามาอยู่เป็นในลักษณะ Copilot ก็ทำให้มีข้อมูลที่เริ่มตอบคำถามได้ตรงใจกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ลงสนามรายใหม่ อย่าง Perplexity ที่เคลมตัวเองว่า ไม่ใช่ Chat แต่เป็น Search Engine ยุคใหม่ ที่จะไม่ให้แค่ Link ดัง Google เช่นเคย แต่เป็นการให้คำตอบจากคำถาม หรือ ที่เรียกกันใหม่ในชื่อว่า “Ans Engine” สงครามบนโลกของการค้นหา จะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น การปรับปรุงพัฒนาจะเร็วขึ้น ดูง่ายเลยคือ แค่เพียง 1 เดือน การใช้คำสั่ง prompt ใน Ai ของทุกค่าย สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างราบรื่น อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งในอนาคต เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักแล้ว Search Engine แต่จะรู้จักในนาม Ans Engine (Answer Engine) แทนก็เป็นได้
ทั้งนี้ ตามไปดูกันก่อนว่าแต่ละเจ้า ที่ออกมานั้น มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
Google:
- AI Overviews ฟีเจอร์ใหม่ที่ใช้ Generative AI สรุปผลการค้นหา ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็วโดยไม่ต้องอ่านเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์
- Gemini: โมเดลภาษาขนาดใหญ่รุ่นใหม่ เข้าใจข้อมูลหลากหลายประเภท ค้นหาสิทธิบัตร งานวิจัย และรูปภาพได้อย่างแม่นยำ
- การค้นหาตามบริบท: AI วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ แสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องและตรงประเด็น ไม่ว่าจะค้นหาข้อมูลทั่วไป วางแผนท่องเที่ยว หรือเปรียบเทียบสินค้า
- เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่รู้ใจ ที่นำ
- AI Google Assistant: ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ฉลาดขึ้น เข้าใจภาษาธรรมชาติ สนทนาโต้ตอบได้อย่างเป็นธรรมชาติ สั่งงานด้วยเสียง ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม ค้นหาข้อมูล จองตั๋วเครื่องบิน และอื่นๆ อีกมากมาย
- Google Translate: แปลภาษาได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น รองรับภาษาถิ่นและสำเนียงที่หลากหลาย แปลเอกสารและข้อความยาวๆ ได้อย่างถูกต้อง
- สร้างสรรค์คอนเทนต์ด้วย AI เขียนบทความ เรื่องราว บทกวี โค้ด ดนตรี อีเมล จดหมาย ตอบคำถาม แปลภาษา และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
- AI Security: ระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ AI วิเคราะห์รูปแบบการใช้งานที่ผิดปกติ ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รักษาความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้
Bing:
- เปิดตัว Microsoft Bing with AI เวอร์ชั่นใหม่ที่ใช้ AI ในการเข้าใจบริบทของคำค้นหาและแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
- พัฒนา Bing Visual Search เครื่องมือค้นหารูปภาพที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์รูปภาพและแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง
- ร่วมมือกับ OpenAI พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ใหม่ๆ
Perplexity: Ans Engine
- เปิดตัว Perplexity Search Engine เครื่องมือค้นหาที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์เนื้อหาเว็บไซต์และแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- พัฒนา Perplexity Q&A เครื่องมือตอบคำถามที่ใช้ AI ในการตอบคำถามที่ซับซ้อน
- เน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยไม่เก็บข้อมูลส่วนตัว
ข้อดีของ AI ใน Search Engine:
- เข้าใจบริบทของคำค้นหาได้ดีขึ้น
- แสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
- ตอบคำถามที่ซับซ้อน
- ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว
- ปรับแต่งผลการค้นหาให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน
ข้อเสียของ AI ใน Search Engine:
- อาจมีอคติ
- ข้อมูลที่ใช้ฝึกโมเดล AI อาจไม่ถูกต้อง
- ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
อนาคตของ AI ใน Search Engine:
AI จะมีบทบาทสำคัญใน Search Engine มากขึ้น Search Engine จะมีความฉลาดมากขึ้น เข้าใจผู้ใช้มากขึ้น และแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและอคติที่ต้องพิจารณา อีกหน่อย เราจะไม่เรียกการทำ SEO แล้วนะ แต่จะเรียกเป็น ASO แทน คราวหน้าจะมาเขียนเรื่อง ASO แบบเต็มๆ ล่ะกันนะ ^^
มีหลายส่วนที่ไม่ได้อธิบายลงในบทความนี้ เพราะการสอนน่าจะอธิบายได้เข้าใจและดีกว่าการเขียน พอสมควรเลย